มิติสังคม

กลุ่มบริษัท เชื่อว่า การบริหารด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืน การบริหารจัดการเพื่อป้องกันความเสี่ยง อุบัติการณ์ และผลกระทบต่อธุรกิจและผู้มีส่วนได้เสีย เป็นความ รับผิดชอบขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มพนักงาน คู่ค้า และผู้มีส่วนได้เสีย โดยกลุ่มบริษัท มุ่งมั่นส่งเสริมให้ทุกหน่วยงานมีสภาพแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัยและมีความ ปลอดภัย และยึดถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควบคู่กับการพัฒนาองค์กรเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ เพื่อสร้างความ ปลอดภัยในการทำงานของบริษัท จึงได้ประกาศ “นโยบายคุณภาพ สิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” โดยกำหนดแนวทางในการปฎิบัติให้สอดคล้องกับกฎหมาย และมาตรฐานสากล ด้วยมาตรการป้องกันความเสี่ยงซึ่งอาจ เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและการเจ็บป่วยจากการทำงาน พร้อมส่งเสริมให้มีการปรับปรุงสภาพแวดล้อมในการ ทำงานให้เหมาะสมต่อสภาพสภาพจิตใจและถูกสุขลักษณะ เพื่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและสุขภาพของพนักงาน โดย มุ่งเน้นให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงวิธีการทำงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ และแผนการ บริหารจัดการสิ่งแวดล้อมในการทำงาน คือ การใส่ใจถึงการปฏิบัติงาน อันอาจเกิดผลกระทบต่อภายในและภายนอก องค์กร โดยอ้างอิงแนวทางปฏิบัติตามแนวทางมาตรฐานสากล ISO 45001:2018 หลักการด้าน Process Safety Management (PSM) และแนวทางปฏิบัติอื่นที่เกี่ยวข้องตามแต่กลุ่มอุตสาหกรรม ควบคู่กับการประเมินความสอดคล้อง ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

การจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • การจัดการความเสี่ยง

    กลุ่มบริษัท มีกระบวนการในการบ่งชี้ความเป็นอันตราย การประเมินความเสี่ยงเพื่อระบุประเด็นปัญหาความเสี่ยง (Risk) และโอกาส (Opportunity) ครอบคลุมกระบวนการปฎิบัติงาน กิจกรรมและพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน และ กำหนดมาตรการป้องกัน และควบคุมอันตราย โดยมุ่งเน้น การขจัดความเสี่ยงและอันตรายในการทำงาน การบ่งชี้ประเด็น ความเสี่ยงที่จะเกิดความไม่ปลอดภัยหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานในทุกกิจกรรมหลัก โดยครอบคลุมทั้ง กิจกรรมของพนักงาน กิจกรรมของผู้รับเหมาและยังได้เตรียมความพร้อมในการรองรับการเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น การ ตรวจสอบระบบเตือนภัย เส้นทางหนีไฟ ไฟส่องสว่างฉุกเฉิน ระบบดับเพลิงอัตโนมัติ และอุปกรณ์ระงับเหตุฉุกเฉินต่างๆ ตลอดจนมีการฝึกซ้อมทีมระงับเหตุฉุกเฉินให้มีความพร้อมปฏิบัติงานอยู่เสมอ

  • การปฏิบัติตามกฎหมาย

    กลุ่มบริษัท มีการปฎิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสากลที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและสุขภาพในการทำงาน รวมถึง การประเมินความความสอดคล้องต่อกฎหมาย เพื่อติดตาม รวบรวม กฎหมาย เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ

  • การรายงานและการสอบสวนเหตุการณ์ผิดปกติหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นระหว่างการทำงาน

    กลุ่มบริษัท ได้กำหนดให้มีขั้นตอนการสอบสวนอุบัติเหตุและการวิเคราะห์หาสาเหตุ กรณีเกิดอุบัติการณ์ทางด้านร่างกาย หรือทรัพย์สิน ตลอดจนโรคอันเนื่องมากจากทำงาน โดยมีกระบวนการสอบสวนอุบัติเหตุเพื่อหาสาเหตุ กำหนดมาตรการ แก้ไข และป้องกันการเกิดซ้ำ ตลอดจนติดตามผลการดำเนินการแก้ไข รวมถึงการติดตามผลการดำเนินงานเพื่อการ ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

  • การบริการด้านสุขภาพและการส่งเสริมสุขภาพพนักงาน

    กลุ่มบริษัทดำเนินการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ครอบคลุมทุกกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัทฯ เพื่อกำหนดมาตรการควบคุมและลดความเสี่ยงด้านสุขภาพอย่างเหมาะสม นอกจากนี้กลุ่มบริษัทจัดให้มีการทำกิจกรรมส่งเสริมด้านสุขภาพอนามัย ตลอดจนการสร้างวัฒนธรรมการดูแลสุขภาพเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี รวมทั้งได้ดำเนินการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานตามปัจจัยเสี่ยงแต่ละพื้นที่อย่างสม่ำเสมอ ดังนี้

  • การตรวจวัดคุณภาพอากาศ แสงสว่าง เสียง ความร้อน ฝุ่นและสารเคมีในพื้นที่ปฏิบัติงาน เทียบกับค่ามาตรฐานความปลอดภัยที่เกี่ยวข้อง
  • การตรวจสุขภาพพนักงานก่อนเริ่มทำงานหรือเมื่อมีการเปลี่ยนงาน
  • การตรวจสุขภาพประจำปี
  • การตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยงตามคำแนะนำของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์
  • การทำประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุให้กับพนักงาน
  • มีบริการตรวจสุขภาพช่องปากและฟันโดยรถทันตกรรมเคลื่อนที่
  • การเข้าร่วมโครงการต่างๆของภาครัฐที่ส่งเสริมสุขภาพและความปลอดภัย
  • - โครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

  • - มาตรฐานการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการ

  • การพัฒนาความรู้ความสามารถในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

    กลุ่มบริษัท จัดให้มีการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้กับพนักงานและผู้ปฏิบัติงานทุกคนก่อนเริ่ม ทำงาน หรือเมื่อเปลี่ยนงาน โดยพิจารณาหลักสูตรการฝึกอบรม ตามลักษณะของอันตรายและความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับ งานหรือกิจกรรมที่ปฏิบัติ เช่น การอบรมความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี การอบรมความปลอดภัยในกา ทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า การอบรมความปลอดภัยในการทำงานในพื้นที่อับอากาศ เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทฯ ได้จัดการ ฝึกอบรมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ เช่น การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ การฝึกซ้อมสารเคมีรั่วไหล มี การจัดทำแผนการฝึกอบรม ติดตามการดำเนินการตามแผน ตลอดจนบันทึกประวัติการฝึกอบรมของพนักงาน

  • การเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัยจนเกิดเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

    กลุ่มบริษัท จัดให้มีกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยในก ปฏิบัติงาน รวมถึงมีการสร้างจิตสำนึกให้พนักงานมีความระมัดระวังและรับผิดชอบในการทำงาน เพื่อนำไปสู่การ ปฎิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดังนี้

Safety Activity

กิจกรรม Safety Talk

เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกด้านความปลอดภัย และตระหนัก ถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นในการทำงาน โดยกิจกรรมนี้ จะจัดทั้งในสำนักงานและสายการผลิต เป็นประจำทุกเดือน

กิจกรรม Safety Mind

เพื่อรณรงค์ส่งเสริมให้ทุกคนในองค์กรมีจิตสานึกและตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงาน (Safety First) ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงาน ทั้งนี้พนักงานสามารถร่วมเสนอความคิดเห็น และแนวทางป้องกันแก้ไขอุบัติการณ์เพื่อไม่ให้เกิดซ้าได้ผ่านกิจกรรมนี้

กิจกรรม Safety Patrol

เพื่อตรวจตราความปลอดภัยในพื้นที่การทำงาน หาสิ่งผิดปกติ ในพื้นที่การทำงานหรือบริเวณพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะมีตัวแทนจากคณะทำงานต่างๆ เช่น คณะคปอ. , ตัวแทนจากแผนกต่างๆ โดยกิจกรรมนี้จะจัดเป็นประจำทุกเดือน และมีการสรุปผลการทำกิจกรรม การติดตามการแก้ไข เพื่อให้สิ่งที่พบได้รับการแก้ไข ลงในรายงานความปลอดภัย

กิจกรรม PSM

เพื่อระดมความคิดของทีมงานทำข้อมูล Workshop เรื่องแนวคิดเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยใน องค์กร /Safety Culture Project : 4 กิจกรรมหลัก ดำเนินการต่อเนื่อง การสื่อสาร,การ Observation,กิจกรรม 5 ส., เพิ่มช่องทางการสื่อสาร Two-Way Communication

เป้าหมายด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ผลการดำเนินงาน/ตัวชี้วัดความสำเร็จ

บริษัทฯได้มีการติดตามและรายงานผลการการดำเนิงานด้านอาชีวอนามัยอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลการดำเนินงานตามเป้าหมายตามตารางด้านล่างและมีรายงานตัวชี้วัดการปฏิบัติงานจากอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) และอัตราการเสียชีวิตจากการทำงาน ทั้งของพนักงานและผู้รับเหมา ดังนี้

ตัวชี้วัดด้านอุบัติเหตุจากการปฏิบัติงาน
2564 2565 2566 2567

ผลการดำเนินงาน

ผลการดำเนินงาน

กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซล

กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

กลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้าพาณิชย์

กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซล

กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน

กลุ่มธุรกิจแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้าพาณิชย์

ชั่วโมงการทํางานรวม (ชั่วโมง) - - - - - 816,656 1,183,384 3,111,072
อัตราความถี่ของการบาดเจ็บทั้งหมด (TIER) (ครั้งต่อหนึ่งล้านชั่วโมงการทํางาน)
- พนักงาน - - - - - 3.53 0 9.79
- ผู้รับเหมา - - - - - 0 0.85 0
- อัตราความถี่ของการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (LTIFR) (ครั้งต่อหนึ่งล้าน ชั่วโมงการทํางาน)
- พนักงาน 0 0 0 3.64 3.14 8.83 0 1.63
- ผู้รับเหมา 0 0 0 0 1.44 0 0 0
การเสียชีวิตจากการทํางาน (ราย)
- พนักงาน 0 0 0 0 0 0 0 0
- ผู้รับเหมา 0 0 0 0 0 0 1 0
การเจ็บป่วยด้วยโรคจาการทำงาน (ราย)
- พนักงาน 0 0 0 0 0 0 0 0
- ผู้รับเหมา 0 0 0 0 0 0 0 0
จำนวนพนักงานรวมของบริษัทและบริษัทย่อย (ราย) 1175 2049 197 95 1756 188 99 628

* อ้างอิงข้อมูลเดือน มกราคม - ธันวาคม 2567