คุณรู้จักกับ
บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ หรือยัง?

Energy Absolute Energy for The Future กลุ่มพลังงานบริสุทธิ์ (EA) มุ่งมั่นนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี มาพัฒนาพลังงานสะอาด ทั้งด้านพลังงานทดเเทน พลังงานหมุนเวียน ด้านแบตเตอรี่และยานยนต์ไฟฟ้า อาทิ รถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์, เรือไฟฟ้า, สถานีชาร์จรถไฟฟ้า, แบตเตอร์รี่ Li-ion ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย โดยฝีมือคนไทย สร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

รับชม VDO นำเสนอ
about-E@
เกี่ยวกับบริษัท / ประวัติความเป็นมา

E@ | Energy Absolute เป็นผู้นำในธุรกิจพลังงานทางเลือก โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

  1. 2551
    • จดทะเบียนก่อตั้งบริษัทขึ้น ในชื่อเดิมคือ บริษัท ซันเทค ปาล์มออยส์ จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท และก่อสร้างโรงงานผลิตไบโอดีเซล ที่นิคมอุตสาหกรรมกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
    • จดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน)
  2. 2552
    • ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่แล้วเสร็จ ทำให้บริษัทมีขนาดกำลังการผลิตไบโอดีเซล เท่ากับ 400,000 ลิตรต่อวัน และกลีเซอรีนบริสุทธิ์ ขนาดกำลังการผลิต 40 ตันต่อวัน
  3. 2553
    • ขยายกำลังการผลิตไบโอดีเซลเป็น 800,000 ลิตรต่อวัน และขยายกำลังการผลิตกลีเซอรีนบริสุทธิ์เป็น 80 ตันต่อวัน
    • บริษัทได้เริ่มดำเนินธุรกิจค้าก๊าซปิโตรเลียมเหลว (Liquefied Petroleum Gas ; LPG)
  4. 2554
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วจาก 250 ล้านบาท เป็น 305 ล้านบาท
    • เริ่มขยายธุรกิจไปยังธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ ขนาด 8 เมกะวัตต์ ที่ลพบุรี ภายใต้ บริษัท อีเอ โซล่า จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท เพื่อขายไฟฟ้าให้แก่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
    • ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง โดยมีขนาดกำลังการผลิตโครงการละ 90 เมกะวัตต์
  5. 2555
    • หยุดดำเนินธุรกิจก๊าซปิโตรเลียมเหลว
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วจาก 305 ล้านบาท เป็น 317 ล้านบาท
    • ได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน(Roundtable on Sustainable Palm Oil ; RSPO)
    • ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์
    • ได้รับการรับรองระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2008 จาก URS Thailand
  6. 2556
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนชำระแล้วของบริษัทฯ เพิ่มจาก 317,000,000 บาท เป็น 373,000,000 บาท
    • ปรับปรุงกำลังการผลิตไบโอดีเซลเป็น 800,000 ลิตร/วัน
    • บริษัทฯ ได้นำหุ้นสำมัญ จำนวน 3,730 ล้ำนหุ้น (มูลค่ำที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท) รวม 373 ล้ำนบาท เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)
  7. 2557
    ด้านธุรกิจไบโอดีเซล
    • บริษัทฯ ปรับปรุงกระบวนการผลิตไบโอดีเซล (B100) อย่างต่อเนื่องจากปี 2556 ทำให้ภาพรวมการผลิตที่ระดับ 800,000 ลิตรต่อวัน ของบริษัทฯ เป็นไปด้วยความราบรื่นซึ่งสามารถติดตั้งและดำเนินการผลิตได้ในช่วงไตรมาส 1 ของปี 2557
    • บริษัทฯ ปรับปรุงกระบวนการผลิตกลีเซอลีนบริสุทธิ์โดยเพิ่มอุปกรณ์ให้ความร้อนส่วนกลั่น ทำให้สามารถดำเนินการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งติดตั้งแล้วเสร็จและดำเนินการผลิตได้ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2557
    • บริษัทฯ เริ่มดำเนินการผลิตกระบวนการ Glycerolysis ซึ่งเปลี่ยนรูปกรดไขมันอิสระ (PFAD) จากกระบวนการกลั่นแยกน้ำมันปาล์ม (Refinery Palm Oil) ให้เป็นน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) โดยสามารถผลิตได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2557
    • บริษัทฯ ยังคงรักษาการจัดการระบบคุณภาพ มาตรฐานISO 9001, มาตรฐาน RSPO และมาตรฐาน Kosher ได้ ตลอดระยะเวลาในช่วงปี 2557
    ด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    • เดือนสิงหาคมบริษัทฯจัดตั้งบริษัทย่อยรวม 5 บริษัทดังต่อไปนี้
    1. บริษัท อีเอ รีนิวเอเบิล โฮลดิง จำกัด
    2. บริษัท อีเอ โซล่า พิษณุโลก จำกัด
    3. บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 1 จำกัด
    4. บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 2 จำกัด
    5. บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 จำกัด
    • เดือนกันยายน บริษัทฯ ปรับโครงสร้างการถือหุ้นภายในเครือโดยบริษัทฯ ได้ขายหุ้นในบริษัท อีเอโซล่า ลำปาง จำกัดในส่วนที่บริษัทฯ ถือไว้ทั้งหมด จำนวน 199,999,997 หุ้นหรือร้อยละ 99.99 ให้แก่บริษัท อีเอรี นิวเอเบิล โฮลดิง จำกัด
    • เดือนพฤศจิกายน บริษัทฯ จัดตั้งบริษัทย่อยรวม 8 บริษัท
    1. บริษัท ลม นายางกลัก จำกัด
    2. บริษัท นายางกลัก พัฒนา จำกัด
    3. บริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด
    4. บริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด
    5. บริษัท เบญจรัตน์ พัฒนา จำกัด
    6. บริษัท โป่งนก พัฒนา จำกัด
    7. บริษัท ลม ทศภูมิ จำกัด
    8. บริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลม
    • จัดตั้ง บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 1 จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาดกำลังการผลิต 36 เมกะวัตต์ จังหวัดสงขลา ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำ นวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัทอีเอ รีนิวเอเบิล โฮลดิง จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • จัดตั้ง บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 2 จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาดกำ ลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัทอีเอ รีนิวเอเบิล โฮลดิง จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.9
    • จัดตั้ง บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท อีเอ รีนิวเอเบิล โฮลดิง จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • จัดตั้งบริษัท ลม นายางกลัก จำกัด เพื่อลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 300,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 30,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.990
    • จัดตั้งบริษัท นายางกลัก พัฒนา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท ลม นายางกลัก จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • จัดตั้งบริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาทแบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท ลม นายางกลัก จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • จัดตั้งบริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด เพื่อลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 300,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 30,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.990
    • จัดตั้งบริษัท เบญจรัตน์ พัฒนา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่จังหวัดชัยภูมิด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาทโดยปัจจุบัน บริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • จัดตั้งบริษัท โป่งนก พัฒนา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบันบริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • จัดตั้งบริษัท ลม ทศภูมิ จำกัด เพื่อลงทุนในบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่จังหวัดชัยภูมิ ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 200,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 20,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.985
    • จัดตั้งบริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมที่จังหวัดชัยภูมิด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยปัจจุบัน บริษัท ลม ทศภูมิ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.970
    • เข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. เพื่อขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดจากโครงการหาดกังหัน 1, 2, 3 ให้แก่ กฟผ.
  8. 2558
    พัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ รีนิวเอเบิล โฮลดิง จำกัด เป็น 7,429,200,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด เป็น 2,125,000,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ โซล่า พิษณุโลก จำกัด เป็น 2,125,000,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 1 จำกัด เป็น 98,470,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 2 จำกัด เป็น 123,065,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 จำกัด เป็น 2,457,065,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม นายางกลัก จำกัด เป็น 44,300,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท นายางกลัก พัฒนา จำกัด เป็น 20,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด เป็น 20,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด เป็น 50,300,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน โป่งนก พัฒนา จำกัด เป็น 24,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท เบญจรัตน์ พัฒนา จำกัด เป็น 22,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด เป็น 32,100,000 บาท
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจไบโอดีเซล
    • ปรับปรุงกระบวนการผลิต Gly-Trans ซึ่งเปลี่ยนรูปกรดไขมันอิสระ (PFAD) จากกระบวนการกลั่นแยกน้ำมันปาล์ม (Refinery Palm Oil) ให้เป็น RBD ได้ โดยสามารถผลิตได้ในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558
    • รักษาการจัดการระบบคุณภาพ มาตรฐาน ISO 9001, มาตรฐาน RSPO และ มาตรฐาน Kosher ตลอดระยะเวลาในช่วงปี 2558
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    • โครงการโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ ที่ จังหวัดลำปาง ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2558 และจะเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการฯ ดังกล่าว
    • ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ จังหวัดพิษณุโลก ขนาดกำลังการผลิต 90 เมกะวัตต์ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการเป็นระยะเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ และหลังจากนั้นจะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นเวลาอีก 5 ปี
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลม
    • ได้รับมติอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในโครงการหาดกังหัน 1, 2, 3 โดยแต่ละโครงการได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการเป็นระยะเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ และหลังจากนั้นจะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นเวลาอีก 5 ปี
    • ได้รับมติอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ในโครงการหนุมาน 1, 5, 8, 9, 10 โดยแต่ละโครงการได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการเป็นระยะเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ และหลังจากนั้นจะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นเวลาอีก 5 ปี
    • เข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับ กฟผ. เพื่อขายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมดจากโครงการหนุมาน 1, 5, 8, 9, 10 ให้แก่ กฟผ.
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 1 จำกัด เป็น 98,470,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 2 จำกัด เป็น 123,065,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 จำกัด เป็น 2,457,065,000บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม นายางกลัก จำกัด เป็น 44,300,000บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท นายางกลัก พัฒนา จำกัด เป็น 20,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด เป็น 20,100,000บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด เป็น 50,300,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน โป่งนก พัฒนา จำกัด เป็น 24,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท เบญจรัตน์ พัฒนา จำกัด เป็น 22,100,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด BCD เป็น 32,100,000 บาท
  9. 2559
    พัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
    1) บริษัทฯ เข้าร่วมทุนในบริษัท เอ็มมา คอร์ปอเรชั่น จำกัด (“EMMA”) โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 50 ของทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท เพื่อดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้า
    2) เพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทย่อย ดังต่อไปนี้
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท สุรชัย (1997) โซล่าร์ จำกัด (“SR (1997) SOLAR”) จากเดิม 12,000,000 บาท เป็น 190,500,000 บาท โดย การออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 178,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัท สุรชัย (1997) โซล่าร์ จำกัด (“SR (1997) SOLAR”) จากเดิม 1,000,000 บาท เป็น 179,500,000 บาท โดย การออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 178,500 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1,000 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ โซล่า จำกัด (“EA SOLAR”) จากเดิม 200,000,000 บาท เป็น 550,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 3,500,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท อีเอ โซล่า นครสวรรค์ จำกัด (“ESN”) จากเดิม 1,690,000,000 บาท เป็น 5,590,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญ ใหม่จำนวน 390,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม ก้าวหน้า จำกัด (“WPGS”) จากเดิม 50,300,000 บาท เป็น 1,879,500,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 182,920,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม ทศภูมิ จำกัด (“WTSP”) จากเดิม 36,200,000 บาท เป็น 1,670,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 163,380,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท เบญจรัตน์ พัฒนา จำกัด (“BJRD”) จากเดิม 22,100,000 บาท เป็น 876,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 85,390,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท โป่งนก พัฒนา จำกัด (“PND”) จากเดิม 24,100,000 บาท เป็น 1,002,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 97,790,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด (“BCD”) จากเดิม 32,100,000 บาท เป็น 1,669,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 163,690,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท ลม นายางกลัก จำกัด (“WNYK”) จากเดิม 44,300,000 บาท เป็น 1,879,500,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 183,520,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท นายางกลัก พัฒนา จำกัด (“NYKD”) จากเดิม 20,100,000 บาท เป็น 939,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 91,890,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียน บริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด (“NWP”) จากเดิม 20,100,000 บาท เป็น939,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 91,890,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    3) ที่ประชุมผู้ถือหุ้นมีมติอนุมัติการออกและเสนอ ขายหุ้นกู้ในวงเงินไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เพื่อนมาชำระคืนเงินกู้สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงาน แสงอาทิตย์ และใช้ลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้า พลังงานลม ซึ่งชนิดของหุ้นกู้เป็นหุ้นกู้ทุกประเภท และรูปแบบ (มีหลักประกันหรือไม่มีหลักประกัน) เป็นการเสนอขายคราวเดียวหรือหลายคราว หรือ เป็นโครงการ หรือในลักษณะหมุนเวียน (Revolving) ให้แก่ประชาชนทั่วไป หรือผู้ลงทุนโดย เฉพาะเจาะจง หรือ ผู้ลงทุนสถานบันในคราว เดียวกันหรือต่างคราวกันได้ โดยมีอายุไม่เกิน 10 ปี นับตั้งแต่วันออกหุ้นกู้ในแต่ละคราว (ดูข้อมูลการ ออกหุ้นกู้ ในหัวข้อ การออกหลักทรัพย์อื่น)
    4) บริษัทฯ ขยายการดำเนินธุรกิจโดยเข้าลงทุน ใน Amita Technologies Inc. (“Amita”) ซึ่ง ประกอบธุ รกิ จพั ฒนาและผลิ ตแบตเตอรี่ เป็ นบริ ษั ทจดทะเบียนภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) และเป็นบริษัทจดทะเบียนใน Emerging Stock Market (ESM) ของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน ในสัดส่วนร้อยละ 35.20 ของจำนวนหุ้นที่ออกและ จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ Amita ด้วยมูลค่าการ ลงทุนรวม 618,915,115 ดอลล่าร์ไต้หวัน
    5) บริษัทฯ ยื่นคำขอเข้าต่อตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย เพื่อพิจารณาอนุมัติให้หลักทรัพย์ของ EA ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) (ย้ายหลักทรัพย์ EA จาก mai ไป SET) และ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้แจ้งผลการ พิจารณา โดยเห็นควรให้หลักทรัพย์จดทะเบียนของ EA จำนวน 3,730,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.10 บาท รวม 373,000,000 บาท ซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดย จัดให้อยู่ในกลุ่มทรัพยากร หมวดพลังงานและ สาธารณูปโภค และใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลัก ทรัพย์ว่า “EA” เช่นเดิม โดยตั้ งแต่ วั นที่ 6 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจไบโอดีเซล
    1) บริษัทฯ เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันไบโอดีเซล (B100/MB) ที่ได้รับการรับรองระบบมาตรฐาน RSPO และเริ่มรายงานผลการดำเนินการทั้งหมดของ บริษัทฯ ผ่านระบบของ RSPO eTrace โดยเริ่ม จำหน่ายในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2559
    2) บริษัทฯ เริ่มแผนการดำเนินงานขอรับรอง มาตรฐานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (EMS) และระบบการจัดการ อาชีวอนามัยความปลอดภัย (OH&S) ISO 14001: 2005 & OHSAS 18001: 2007 (Environmental & Occupational Health and Safety Management System) ซึ่งคาดว่าจะได้รับ การรับรองมาตรฐาน ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2560
    3) บริษัทฯ ยังคงรักษาระบบบริหารจัดการมาตรฐาน การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil: RSPO) ระบบบริหารงาน คุณภาพ ISO 9001: 2008 (Quality Management Systems) และมาตรฐาน Kosher จากผู้ให้การ รับรอง ตลอดระยะเวลาในช่วงปี 2559
    4) บริษัทฯ เริ่มการขายไบโอดีเซล B100 ให้กับ บริษัท เชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด (Shell) เป็นปีแรก
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    1) บริษัทย่อย - บริษัท อีเอ โซล่า จำกัด ได้รับการ รับรอง จาก URS Thailand (United Registrar of Systems (Thailand) Ltd) ในด้านการจัดการ สิ่งแวดล้อม และการบริหารคุณภาพ ดังนี้
    • ระบบบริหารจัดการคุณภาพ ISO 9001 : 2008 (หมายเลขใบอนุญาต 73337/B/0001/UK/En) เป็นระบบมาตรฐานสากลที่องค์กรให้ความสำคัญ เพื่ อความเป็ นเลิศทางด้านคุ ณภาพ และความมี ประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร
    • ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2004 (หมายเลขใบอนุญาต 73337/A/0001/UK/En) เป็น ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มอก. (Environmental Management System) ตามมาตรฐานสากลที่มี ความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าและ เป็นที่ยอมรับทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม โดยมุ่งเน้น ให้ความสำคัญของการจัดการสิ่งแวดล้อมด้าน มลพิษ ให้เกิดการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการ พัฒนาธุรกิจต่อไป
    2) โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ขนาดกำลัง การผลิต 90 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดพิษณุโลก ได้เริ่ม จำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ให้แก่ กฟผ. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 และรับรู้รายได้จากโครงการในวันดังกล่าว
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลม
    ดำเนินการก่อสร้างโครงการโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม โครงการหาดกังหัน 1-3 และเตรี ยมการเพื่ อเริ่มก่ อสร้างโครงการโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม โครงการหนุมาน 1, 5, 8, 9,10
    พัฒนาการด้านอื่น
    1) บริษัทฯ ได้รับรางวัล “Thailand Top Company Awards 2016 Fast-growing Company Award” ในฐานะเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จในระดับ สูงสุดของประเทศ และเป็นบริษัทที่มีความโดดเด่น ในด้านผลประกอบการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งยอด ขายและกำไร ซึ่งจัดขึ้นโดย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (คณะบริหารธุรกิจ) ร่วมกับ นิตยสาร Business
    2) บริษัทฯ ได้รับรางวัล “หุ้นขวัญใจมหาชน ตลาด หลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)” เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จัดโดยหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ ร่วมกับตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
    3) บริษัทฯ ได้รับรางวัล MONEY & BANKING AWARDS 2016 ประเภท “บริษัท mai ยอดเยี่ยม แห่งปี 2016” 2 ปี ซ้อน ซึ่งจัดขึ้นโดยวารสารการเงิน ธนาคาร
    4) บริษัทฯ ได้รับรางวัล “THE BIZZ 2016 World Business Leader” และนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัท ได้รับรางวัล “THE BIZZ 2016 World Leader Businessperson” ในฐานะที่เป็นผู้นำจากการใช้นวัตกรรม ความรู้ และการทำงานอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้บริษัท ประสบผลสำเร็จอย่างสูง ซึ่งจัดขึ้นโดย World Confederation of Businesses
    5) บริษัทฯ ได้รับรางวัล “Outstanding Investor Relations Awards” และรางวัล “Best Investor Relations Awards” ในงาน SET Awards 2016 ซึ่ง จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวารสาร การเงินธนาคาร
    6) รางวัล “APEA 2016” โดยนายอมร ทรัพย์ทวีกุล กรรมการ และรองประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ บริษัท ได้รับรางวัล The Asia Pacific Entrepreneurship Awards 2016 - Most Promising Category จาก Enterprise Asia ซึ่งเป็น ผู้บริหารที่มีความมุ่งมั่น มีวิสัยทัศน์ และสามารถ นำพาบริษัทให้เติบโตได้โดยบรรลุตามเป้าหมายที่วาง ไว้ ทั้งนี้ Enterprise Asia เป็นหน่วยงาน Regional non - governmental organization (NGO) และ บทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงผู้ประกอบการชั้นนำในแถบ Asia Pacific
  10. 2560
    ในปี 2560 บริษัทฯ มีพัฒนาการที่สำคัญดังนี้
    1. บริษัทฯ ได้ยื่นคำขอย้ายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ให้เข้าไปทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อนุมัติให้หลักทรัพย์ฯ ของบริษัทฯ เข้าทำการซื้อขายในกลุ่มทรัพยากร หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2560 เป็นต้นไป
    2. วันที่ 3 มีนาคม เวลา 12.00 น. โรงไฟฟ้าพลังงานลม โครงการหาดกังหัน 1 ขนาดกำลังการผลิต 36 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดสงขลา เริ่มทำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)
    3. มีนาคม 2560 แจ้งการจัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท เอ็มมา คอร์ปอเรชั่น จำกัด ทุนจดทะเบียน 100,000 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 50 ส่วนที่เหลือถือหุ้นโดยนิติบุคคลต่างประเทศ บริษัทย่อยแห่งนี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์ไฟฟ้า
    4. 11 เมษายน ร่วมสนับสนุนการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม New S-Curve ขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0 ทั้งนี้ โครงการตั้งโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ขนาดกำลังการผลิต 50 GWh ต่อปีของบริษัท พลังงานบริสุทธิ์ จำกัด (มหาชน) ได้รับการพิจารณาเข้าเป็น Quick win Project ซึ่งได้รับการส่งเสริมอย่างเต็มที่
    5. พฤษภาคม 2560 เริ่มลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานลม จ.ชัยภูมิ 5 โครงการ ขนาดกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 260 เมกะวัตต์ หรือ เรียกรวมว่า “โครงการหนุมาน” มูลค่าการลงทุนรวมประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปี 2561
    6. พฤษภาคม 2560 แจ้งการจัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (EMN) ทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 99.99 บริษัทย่อยแห่งนี้ตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์
    7. วันที่ 10 มิถุนายน เวลา 12.00 น. โรงไฟฟ้าพลังงานลม โครงการหาดกังหัน 2 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มทำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)
    8. วันที่ 23 มีนาคม เวลา 12.00 น. โรงไฟฟ้าพลังงานลม โครงการหาดกังหัน 3 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เริ่มทำการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD)
    9. กันยายน 2560 บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด เพิ่มทุนจดทะเบียนจาก 10,000,000 บาท เป็น 150,000,000 บาท ซึ่งบริษัทฯ ได้ลดสัดส่วนการถือหุ้นลงจากร้อยละ 99.99 เหลือ ร้อยละ 66.67 เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด เข้าเป็นพันธมิตรเข้าร่วมลงทุนและพัฒนาธุรกิจร่วมกัน
    10. 12 กันยายน ลงทุนจัดตั้งบริษัท Shenzhen Growatt Power Technology Co., Ltd. ประเทศจีน ด้วยทุนจดทะเบียน US$600,000 บริษัทฯ เข้าถือหุ้นร้อยละ 44 บริษัทแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ เครื่องจักร และอื่นๆ
    11. 3 พฤศจิกายน เข้าลงทุนเพิ่มใน Amita Technology Inc. โดยเข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของ Amita ด้วยวิธีการซื้อหุ้นผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน (Emerging Stock Market) เป็นจำนวนทั้งสิน้ 7,784,000 หุ้น (สัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.49) โดยผลจากการซื้อหุ้นดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ เป็นผุ้ถือหุ้น ใน Amita จำนวนทั้งสิน้ 25,467,289 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.69 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ Amita
    12. พฤศจิกายน 2560 จัดตั้งบริษัทย่อย ชื่อ บริษัท กรีน เทคโนโลยีรีเสริ์ช จำกัด (GTR) ทุนจดทะเบียน 40,000,000 บาท บริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 99.99 บริษัทย่อยแห่งนี้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำมันไบโอดีเซล
    ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560 บริษัทฯ มีพนักงานรวมทั้งสิ้น 277 คน สำหรับบริษัทย่อยซึ่งมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 27 บริษัท มีพนักงานรวมกันทั้งสิ้น 155 คน
    พัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
    บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ดังต่อไปนี้
    • จัดตั้ง บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (“EMN”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 10,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 1,00,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจติดตั้งและให้บริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า เพื่อยานพาหนะทุกประเภท
    • จัดตั้ง บริษัท กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช จำกัด (“GTR”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 40,000,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 4,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจวิจัยและพัฒนา Oleochemical
    • จัดตั้ง บริษัท ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด (“MMR”) ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท และทุนชำระแล้ว 2,500,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 1,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัย และพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบริษัทในเครือ
    • จัดตั้ง บริษัท เปย์ป๊อป จำกัด (“POP”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนช??ำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจทำธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (E-Money)
    • จัดตั้ง บริษัท เอ็นเนอร์ยี่ บียอนด์ รีเสิร์ช จำกัด (“EBR”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนาระบบกักเก็บไฟฟ้า
    • จัดตั้ง บริษัท อีเอ ไบโอ อินโนเวชั่น จำกัด (“EBI”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายไบโอดีเซล (B100) และผลิตภัณฑ์พลอยได้
    • บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนในบริษัทจัดตั้งใหม่ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ชื่อบริษัท Shenzhen Growatt Power Technology Co.,Ltd., ซึ่งประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ เครื่องจักร และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในสัดส่วน 44% ของจำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ Shenzhen Growatt Power Technology Co.,Ltd., ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 264,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ
    • บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนเพิ่มเติมโดยการเข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิมของ Amita Technologies Inc. (Amita) ด้วยวิธีการซื้อหุ้นผ่านระบบของตลาดหลักทรัพย์ไต้หวัน (Emerging Stock Market) คิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นเพิ่มร้อยละ 15.49 โดยผลจากการซื้อหุ้นดังกล่าว ทำให้บริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นใน Amita คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 50.69 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ Amita
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ดังต่อไปนี้
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (“EMN”) จากเดิม 10,000,000 บาท เป็น 150,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 14,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท เอ็นเนอร์จี โซลูชั่น เมเนจเมนท์ จำกัด (“ESM”) จากเดิม 10,000,000 บาท เป็น 110,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 1,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 100 บาท ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99
    • ปรับลดสัดส่วนการถือหุ้นภายในบริษัทในเครือ โดยบริษัทฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้นจากการเพิ่มทุนของบริษัทย่อยทางตรง
    - บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด (“EMN”) ซึ่งจากเดิมบริษัทฯ ถือหุ้นอยู่ที่ร้อยละ 99.99 ปัจจุบันบริษัทฯ ลดสัดส่วนการถือหุ้น คงเหลือประมาณร้อยละ 66.67 โดยมีบริษัท ออนไลน์แอสเซ็ท จำกัด เข้ามาถือหุ้นของ EMN ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 33.33
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจไบโอดีเซล
    • บริษัทฯ ได้รับการรับรองมาตรฐานระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 : 2015 และระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Management System) OHSAS 18001 : 2007 จาก URS Thailand (United Registrar of Systems (Thailand) Ltd.) ในไตรมาสแรกของปี 2560 Certificate Number : 79935/A/0001/UK/EN (ISO 14001 : 2015) และ Certificate Number: 75535/B/0001/UK/EN (OHSAS 18001: 2007) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้การรับรองมาตรฐานสากล ทั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาปรับปรุงการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย อย่างเป็นระบบสอดคล้องตามข้อกำหนด กฎหมาย เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี พนักงานมีความปลอดภัยในการทำงาน และแสดงถึงความมุ่งมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่องค์กร
    • บริษัทฯ ได้รับการวินิจฉัยเป็นโรงงาน/อาคารควบคุม (TSIC-ID 20299 -1005) ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2550 ของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน และผ่านการตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงานปี 2559 ตามกฎกระทรวงฯ มาตรฐานการจัดการพลังงาน ในไตรมาสแรกของปี 2560
    • บริษัทฯ ได้รับการรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green System) ระดับที่ 3 : ระบบสีเขียว (Green System (Gl3) จากกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อรับรองว่าบริษัทฯ ได้มีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบ โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการประกอบการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีความรับผิดชอบต่อสังคม ให้สามารถอยู่ร่วมกับสังคมและชุมชนได้อย่างมีความสุขไปพร้อมๆ กับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้วยการมุ่งเน้นใน 3 เรื่อง ได้แก่
    1.) การพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการผลิต
    2.) การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ
    3.) ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกองค์กร (ตลอดห่วงโซ่อุปทาน)
    ทั้งนี้จะมีการติดตามประเมินผลและทบทวนเพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามการรับรองเลขที่ 3-6471/2561 (สำหรับทะเบียนโรงงานเลขที่ ข3-47(2)-2/52 ปจ.) และ 3-6472/2561 (สำหรับทะเบียนโรงงานเลขที่ ข3-7(1)-1/44 ปจ.)
    • บริษัทฯ ยังคงรักษาระบบบริหารจัดการ มาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil: RSPO), ระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001: 2008 (Quality Management Systems) และมาตรฐาน Kosher จากผู้ให้การรับรอง
    ตลอดระยะเวลาในช่วงปี 2560 • บริษัทฯ ได้เริ่มแผนการด??ำเนินงานขอรับรองมาตรฐานระบบบริหารคุณภาพ (Quality Management Systems) ISO 9001 : 2015 ซึ่งคาดว่าจะได้รับการรับการรับรองมาตรฐานในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2561
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    • บริษัทฯ ได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program : T-VER) กับองค์การบริการจัดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งเป็นโครงการที่ อบก. พัฒนาขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน มีส่วนร่วมในการลดก๊าซเรือนกระจกในประเทศโดยความสมัครใจ และสามารนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น ที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต ซึ่งภายใต้ T-VER นี้เรียกว่า “TVERs” ไปขายในตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจในประเทศได้ ทั้งนี้ อบก. ได้กำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนในการพัฒนาโครงการ ระเบียบวิธีการในการลดก๊าซเรือนกระจก (Methodology) การขึ้นทะเบียนและการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจก โดยจะต้องเป็นโครงการที่ก่อให้เกิดการลด/ดูดซับก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นภายในประเทศไทย เพื่อลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อน, เพิ่มแหล่งกักเก็บก๊าซเรือนกระจก มีรายได้เพิ่มจากการซื้อ-ขาย บริษัทฯ จึงได้สมัครเข้าร่วมโครงการดังกล่าวของ อบก. ผ่านบริษัทย่อยสำหรับโครงการดังต่อไปนี้
    1. ชื่อโครงการ: โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่นครสวรรค์ ประเทศไทย (Solar Farm at Nokhonsawan, Thailand) ของบริษัทย่อย - บจ. อีเอ โซล่า นครสวรรค์ โดยคณะอนุกรรมการฯ อบก. เห็นชอบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการนี้ สำหรับเดือนธันวาคม 2558 ถึง เดือน พฤศจิกายน 2559 อยู่ที่จำนวน 106,148 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    2. ชื่อโครงการ: โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่ลำปาง ประเทศไทย (Solar Farm at Lumpang, Thailand) ของบริษัทย่อย - บจ. อีเอ โซล่า ลำปาง โดยคณะอนุมกรรมการฯ อบก. เห็นชอบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการนี้ สำหรับเดือน ธันวาคม 2558 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2559 อยู่ที่จำนวน 111,104 ตันคาร์บอนไดออกโซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    3. ชื่อโครงการ: โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่พิษณุโลก ประเทศไทย (Solar Farm at Pisanulok, Thailand) ของบริษัทย่อย - บจ. อีเอ โซล่า พิษณุโลก โดยคณะอนุกรรมการฯ อบก. เห็นชอบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการนี้ สำหรับเดือนเมษายน 2559 ถึง เดือนกันยายน 2559 อยู่ที่จำนวน 63,178 ตัวคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    ซึ่งในปี 2560 บริษัทฯ ยังคงดำเนินการเก็บสะสมปริมาณก๊าซเรือนกระจกของทั้ง 3 โครงการอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ระหว่างมีมติเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการฯ ของ อบก. ในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลมv • โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน 1-3) ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ดังนี้
    • โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน 1) ขนาดกำลังการผลิต 36 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดสงขลา ได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ให้แก่ กฟผ. เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2560 เวลา 12.00 น. และเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการ ในวันเวลาดังกล่าวเช่นกัน
    • โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน 2) ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ให้แก่ กฟผ. เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2560 เวลา 12.00 น. และเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการ ในวันเวลาดังกล่าวเช่นกัน
    • โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน 3) ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชได้เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ให้แก่ กฟผ. เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 เวลา 12.00 น. และเริ่มรับรู้รายได้จากโครงการ ในวันเวลาดังกล่าวเช่นกัน
    • ตามที่บริษัทฯ ได้รับอนุมัติให้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลุงทน (BOI) สำหรับโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม ที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 5 โครงการ (ในนามบริษัทฯ) นั้น ปัจจุบันคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 ได้ออกบัตรส่งเสริมโดยโอนให้แก่บริษัทในเครือดังนี้
    • บริษัทย่อยทางอ้อม – บริษัท นายางกลัก พัฒนา จ??ำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหนุมาน 1) ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์
    • บริษัทย่อยทางอ้อม – บริษัท โป่งนก พัฒนา จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหนุมาน 5) ขนาดกำลังการผลิต 48 เมกะวัตต์
    • บริษัทย่อยทางอ้อม – บริษัท นายางกลัก พลังลม จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหนุมาน 8) ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์
    • บริษัทย่อยทางอ้อม – บริษัท เบญจรัตน์ พัฒนา จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหนุมาน 9) ขนาดกำลังการผลิต 42 เมกะวัตต์
    • บริษัทย่อยทางอ้อม – บริษัท บ้านชวน พัฒนา จำกัด กิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหนุมาน 10) ขนาดกำลังการผลิต 80 เมกะวัตต์
    โดยทั้ง 5 โครงการนี้ จะได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภท 7.1 กิจการสาธารณูปโภคและบริการพื้นฐาน และให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เช่น แต่ละโครงการจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการเป็นระยะเวลา 8 ปี นับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการ และหลังจากนั้นจะได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติเป็นเวลาอีก 5 ปี เป็นต้น
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า
    • บริษัทย่อยทางตรง – บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เพื่อผลักดัน “โครงการสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า” ภายใต้เครื่องหมายการค้า “EA Anywhere” โดยเปิดให้บริการแห่งแรกเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2560 ที่อาคารจอดรถศูนย์การค้าสยามพารากอน ชั้น GA NORTH, ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ ชั้น GB
    พัฒนาการด้านอื่น
    • ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้พิจารณาให้หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ย้ายจาก ตลาดเอ็มเอไอ (MAI) เข้าซื้อขายใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2560 เป็นต้นไป นอกจากนี้ หลักทรัพย์ของบริษัทฯ ยังได้รับการพิจารณานำเข้าไปรวมใน SET50 index ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2560 และรวมใน FTSE SET Large Cap ตั้งแต่วันที่ 18 ธันวาคม 2560
    • บริษัทฯ ได้รับรางวัล “Thailand Top Company Awards 2017 Top Business Strategy Award” ในฐานะเป็นบริษัทที่มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในด้านการสร้างสรรค์กลยุทธ์ธุรกิจ ซึ่งจัดขึ้นโดย นิตยสาร Business+ ร่วมกับมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย (คณะบริหารธุรกิจ)
    • บริษัทฯ ได้รับรางวัล “หุ้นขวัญใจมหาชน ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai)” เป็นปีที่ 5 ติดต่อกัน ซึ่งจัดขึ้นโดยหนังสือพิมพ์ข่าวหุ้นธุรกิจ ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ
    • บริษัทฯ ได้รับรางวัล “Outstanding Investor Relations Awards” ในงาน SET Awards 2017 ซึ่งจัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และวารสารการเงินธนาคาร
    • โครงการโรงไฟฟ้าของบริษัทฯ ได้รับรางวัลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) แบ่งเป็นโล่เกียรติยศจำนวน 3 รางวัล และประกาศนียบัตร 3 รางวัล จากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพิษณุโลก และโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล จากโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน) จังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช
  11. 2561
    พัฒนาการที่สำคัญเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว
    1) บริษัทฯ ได้เข้าลงทุนเพิ่มเติมในหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ Amita Technologies Inc. (“Amita-Taiwan”) ด้วยการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นเดิม และหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ Amita-Taiwan โดยผลจากการซื้อหุ้นดังกล่าว ทำให้ ณ ปัจจุบันบริษัทฯ เป็นผู้ถือหุ้นใน Amita-Taiwan จำนวน 76,109,821 หุ้น คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 77.21 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของ Amita-Taiwan ส่งผลให้ Amita-Taiwan มีสถานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ
    2) บริษัทฯ ได้จัดตั้งบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ดังต่อไปนี้
    • จัดตั้ง EA CON DAO (SG) PTE. LTD. (“EA Con Dao”) ที่ประเทศสิงคโปร์ ด้วยทุนจดทะเบียน 10,000 เหรียญ ดอลลาร์สิงคโปร์ หรือประมาณ 244,780 บาท (อัตรา แลกเปลี่ยน 24.478 บาท/1 เหรียญดอลลาร์สิงคโปร์ ในวันที่ 21 สิงหาคม 2561) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วน ร้อยละ 95 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจ และลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน
    • จัดตั้ง AMITA NEW TECHNOLOGY PTE. LTD. (“Amita-SG”) ที่ประเทศสิงคโปร์ ด้วยทุนจดทะเบียน 1.6 ล้านเหรียญดอลลาร์ สหรัฐ หรือประมาณ 52,527,680 บาท (อัตราแลกเปลี่ยน 32.8298 บาท/1 เหรีญดอลลาร์สหรัฐ ในวันที่ 16 ตุลาคม 2561) โดย Amita Technologies Inc. (“Amita-Taiwan”) ถือหุ้น ในสัดส่วนร้อยละ 100 วัตถุประสงค์เพื่อเป็นบริษัทลงทุน และบริษัทโฮลดิง
    • จัดตั้งบริษัท อมิตาเทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด (“Amita-TH”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 10,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 1,000 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดย Amita New Technology Pte. Ltd. (“Amita-SG”) ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่าย แบตเตอรี่ลิเทียม - ไอออน โพลิเมอร์ และระบบกักเก็บ พลังงานไฟฟ้าความจุสูง พร้อมกันนี้ได้เพิ่มทุนจดทะเบียน ขึ้นอีกจำนวน 49,990,000 บาท เป็น 50,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 4,999,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดย Amita-SG ยังถือหุ้นในสัดส่วน เดิมคือร้อยละ 99.99
    • จัดตั้ง บริษัท ไมน์ โมบิลิตี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (“MMC”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 100,000 บาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญ จำนวน 10,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.94 วัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมกันนี้ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนขึ้นอีกจำนวน 399,900,000 บาท เป็น 400,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 39,990,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้ หุ้นละ 10 บาท ปัจจุบัน บริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.94
    • จัดตั้ง บริษัท อีเอ สเตชั่น จำกัด (“EA Station”) ด้วยทุน จดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 500,000 บาท แบ่งเป็น หุ้นสามัญจำนวน 50,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท โดยบริษัท พลังงานมหานคร จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 วัตถุประสงค์เพื่อเป็น Hub Station และโลจิสติก
    3) เพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)ดังต่อไปนี้
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท กรีน เทคโนโลยี รีเสิร์ช จำกัด (“GTR”) จากเดิม 40,000,000 บาท เป็น 112,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 7,200,000 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท ไมน์ โมบิลิตี รีเสิร์ช จำกัด (“MMR”) จากเดิม 10,000,000 บาท เป็น 100,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่จำนวน 9,000,000 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    • เพิ่มทุนจดทะเบียนของบริษัท อีเอ ไบโอ อินโนเวชั่น จำกัด (“EBI”) จากเดิม 100,000 บาท เป็น 400,100,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญใหม่ จำนวน 40,000,000 หุ้น มูลค่า ที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาท
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจไบโอดีเซล
    1) บริษัทฯ ยังคงรักษาระบบบริหารจัดการในด้านต่างๆ ตลอดระยะเวลาในช่วงปี 2561 ดังนี้
    • มาตรฐานการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Roundtable on Sustainable Palm Oil : RSPO) ตามใบอนุญาตเลขที่ 87153 (วันที่ 7 มิถุนายน 2560 - 6 มิถุนายน 2565)
    • ระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2015 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่องค์กรให้ความสำคัญ เพื่อ ความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงานภายในองค์กร ทั้งนี้เป็นการปรับปรุง จาก ISO 9001 : 2008 ซึ่งเพิ่มเติมในเรื่องการทำความเข้าใจ กับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียเพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 9001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 3866/A/0002/UK/ En (วันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 - 14 กันยายน 2564)
    • ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 : 2015 ซึ่งเป็นระบบ มาตรฐานสากลที่องค์กรให้ความสำคัญ เพื่อเพิ่มสมรรถนะ สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการปรับปรุงจาก ISO 14001 : 2004 ซึ่งเพิ่มเติมในเรื่อง การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวัง ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยง และโอกาส รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้ บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 14001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 79935/A/ 0001/UK/En
    • ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (Occupational Health and Safety Management System) OHSAS 18001 : 2007 ตามใบอนุญาตเลขที่ 79935/B/0001/ UK/En
    • การรับรองอุตสาหกรรมสีเขียว (Green System) ระดับที่ 3 : ระบบสีเขียว (Green System (Gl3)) หมายเลขการรับรอง เลขที่ 3-6472/2561 (ทะเบียนโรงงาน ข3-7(1)-1/44 ปจ.) และหมายเลขการรับรองเลขที่ 3-6471/2561 (ทะเบียน โรงงาน ข3-47(2)-2/52 ปจ.) จากกระทรวงอุตสาหกรรม
    • มาตรฐาน Kosher จากผู้ให้การรับรอง ในส่วนกลีเซอรีน ซึ่งกลุ่มผู้ซื้อชาวยิว สามารถนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ได้
    2)บริษัทฯ ได้รับใบประกาศนียบัตรสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (ทะเบียนโรงงาน ข3-7(1)-1/44 ปจ.) เพื่อยืนยันว่า บริษัทฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะนำหลักธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม มาปฏิบัติในการประกอบกิจการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดและมุ่งเน้นการป้องกันและรักษาสิ่งแวดล้อมร่วมกับชุมชนและสังคมท้องถิ่น ซึ่งบริษัทฯ จะปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังนี้
    • ให้ชุมชนสามารถเข้าถึงข้อมูลการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ที่ถูกต้อง
    • เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
    • เปิดเผยข้อมูล ข้อเท็จจริงอย่างโปร่งใส และสามารถ ตรวจสอบได้
    • แสดงความรับผิดชอบ หากเกิดผลกระทบต่อชุมชน และ จัดให้มีช่องทางในการรับข้อร้องเรียน
    • ยึดหลักนิติธรรมในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตาม กฎหมาย
    • ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมในการจัดสรรทรัพยากรอย่าง เหมาะสม และคืนประโยชน์ต่อสังคม
    • ประกอบกิจการอย่างมีจิตสำนึก ไม่ก่อผลกระทบต่อชุมชน และสิ่งแวดล้อม
    3)บริษัทฯ ได้เข้าร่วมโครงการการอนุรักษ์พลังงานกับกรมพัฒนา พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ได้แก่
    • รับการสนับสนุนการลงทุนในการปรับเปลี่ยน ปรับปรุง หรือ ใช้ระบบควบคุมอัตโนมัติ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในระบบ อากาศอัด ภายใต้การสนับสนุนการปรับปรุงประสิทธิภาพ การจัดการพลังงานในระบบอากาศอัดทั้งระบบ ด้วยระบบ ควบคุมอัตโนมัติ ตามนโยบาย Thailand 4.0
    • โครงการนำร่องขยายผลการเพิ่มประสิทธิภาพหม้อไอน้ำโดยวิศวกรด้านหม้อไอน้ำหรือวิศวกรพลังงาน ภายใต้ เงินกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 เพื่อยกระดับประสิทธิภาพพลังงานหม้อต้มที่ใช้ของเหลว เป็นสื่อนำความร้อนในภาคอุตสาหกรรม
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์
    1) บริษัทย่อย - บริษัท อีเอ โซล่า พิษณุโลก จำกัด (“ESP”) ได้รับใบประกาศนียบัตรสถานประกอบการที่ผ่านเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม (ทะเบียนโรงงาน 3-88(1)-37/58 พล) จัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อเป็นการยืนยันว่า ESP เป็นสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่ดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ธรรมภิบาลสิ่งแวดล้อม และยังได้รับการรับรองจาก URS Thailand (United Registrar of Systems (Thailand) Ltd.) ในด้านระบบบริหารจัดการคุณภาพและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนี้
    • ระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2015 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่องค์กรให้ความสำคัญเพื่อความ เป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของการ ดำเนินงานภายในองค์กร รวมถึงการทำความเข้าใจกับ ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้ สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส รวมถึง ข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไปสำหรับ ISO 9001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/B/0002/UK/En (นับตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 - 8 กุมภาพันธ์ 2564)
    • ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 : 2015 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่ องค์กรให้ความสำคัญเพื่อเพิ่มสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายใน องค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มี ส่วนได้เสีย เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและ โอกาส รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้ บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 14001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/A/0002/UK/En (นับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 - 7 กุมภาพันธ์ 2564)
    2) บริษัทย่อย - บริษัท อีเอ โซล่า ลำปาง จำกัด ได้รับการรับรองจาก URS Thailand (United Registrar of Systems (Thailand) Ltd.) ในด้านระบบบริหารจัดการคุณภาพและระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ดังนี้
    • ระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2015 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่องค์กรให้ความสำคัญ เพื่อ ความเป็นเลิศทางด้านคุณภาพ และความมีประสิทธิภาพของ การดำเนินงานภายในองค์กร รวมถึงการทำความเข้าใจกับ ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้ สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส รวมถึง ข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 9001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/B/0003/UK/En (นับตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 - 8 กุมภาพันธ์ 2564)
    • ระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 : 2015 ซึ่งเป็นระบบมาตรฐานสากลที่องค์กรให้ความสำคัญเพื่อเพิ่มสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงการทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาสรวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 14001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/A/0003/UK/En (นับตั้งแต่ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 - 7 กุมภาพันธ์ 2564) เป็นระบบที่ มุ่งเน้นให้ความสำคัญต่อการจัดการสิ่งแวดล้อม ช่วยลด ของเสียและการใช้พลังงาน แสดงความโปร่งใสขององค์กร ด้วยการปฏิบัติตามข้อบังคับทางกฎหมาย ซึ่งจะส่งผลต่อ การพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการพัฒนาธุรกิจต่อไป
    3) บริษัทย่อย - บริษัท อีเอ โซล่า จำกัด และบริษัท อีเอ โซล่านครสรรค์ จำกัด ยังคงรักษาระบบบริหารจัดการ ทั้งทางด้านระบบบริหารงาน และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม ที่ได้รับจาก URS Thailand (United Registrar of Systems (Thailand) Ltd.) ตลอดระยะเวลาในช่วงปี 2561 ดังนี้
    • บริษัทย่อย - บริษัท อีเอ โซล่า จำกัด ได้รับการรับรองระบบ บริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2015 ซึ่ง เป็นการปรับปรุงจาก ISO 9001 : 2008 ที่เพิ่มเติมในเรื่อง การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยง และโอกาส รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้ บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 9001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/B/0004/ UK/En (นับตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 - 8 กุมภาพันธ์ 2564) และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มสมรรถนะ สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 : 2015 ซึ่งเป็นการปรับปรุงจาก ISO 14001 : 2004 ที่เพิ่มเติมในเรื่อง การทำความเข้าใจกับความต้องการและความคาดหวังของ ผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยง และโอกาส รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะ ช่วยให้บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 14001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/A/0004/UK/En (นับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 - 7 กุมภาพันธ์ 2564)
    • บริษัทย่อย - บริษัท อีเอ โซล่า นครสวรรค์ จำกัด ได้รับ การรับรองระบบบริหารงานคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001 : 2015 ซึ่งเป็นการปรับปรุงจาก ISO 9001 : 2008 ที่เพิ่มเติมในเรื่องการทำความเข้าใจกับความต้องการและ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้สำหรับการดำเนินการ กับความเสี่ยงและโอกาส รวมถึงข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐาน ที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถมุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ ต่อไป สำหรับ ISO 9001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/D/0001/UK/En (นับตั้งแต่วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 - 8 กุมภาพันธ์ 2564) และระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อเพิ่มสมรรถนะสิ่งแวดล้อมภายในองค์กร และเพื่อความ ยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Management System) ISO 14001 : 2015 ซึ่งเป็นการปรับปรุงจาก ISO 14001 : 2004 ที่เพิ่มเติมในเรื่องการทำความเข้าใจกับ ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อใช้ สำหรับการดำเนินการกับความเสี่ยงและโอกาส รวมถึง ข้อกำหนดอื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถ มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้ต่อไป สำหรับ ISO 14001 : 2015 ที่ได้รับตามใบอนุญาตเลขที่ 70995/C/0001/UK/En นับตั้งแต่วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 - 7 กุมภาพันธ์ 2564)
    4) คณะอนุกรรมการฯ อบก. เห็นชอบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ ดังนี้
    • โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่นครสวรรค์ ประเทศไทย (Solar Farm at Nokhonsawan, Thailand) สำหรับเดือน ธันวาคม 2559 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2560 รับรองจำนวน 104,543 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    • โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่ลำปาง ประเทศไทย (Solar Farm at Lumpang, Thailand) สำหรับเดือน ธันวาคม 2559 ถึง เดือนพฤศจิกายน 2560 รับรองจำนวน 112,548 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    • โครงการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ที่พิษณุโลก ประเทศไทย (Solar Farm at Pisanulok, Thailand)สำหรับเดือน ตุลาคม 2559 ถึง เดือนกันยายน 2560 รับรองจำนวน 126,713 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานลม
    1) โรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหนุมาน จำนวน 5 โครงการ) มีความคืบหน้าในการดำเนินการก่อสร้างสำหรับโครงการหนุมาน 1, 5, 8, 9 ได้ดำเนินการก่อสร้างในส่วนของการก่อสร้างเสร็จสิ้น 100% ทั้งในส่วนงานวิศวกรรมและการติดตั้งที่เกี่ยวข้องกับงานโยธาสามารถดำเนินการแล้วเสร็จ 92.28% ในส่วนงานฐานราก, การติดตั้งกังหันลม และงานสายส่งดำเนินการแล้วเสร็จ 100% สำหรับโครงการหนุมาน 10 งานฐานรากดำเนินการแล้วเสร็จ 100% คงเหลือส่วนงานด้านการติดตั้งกังหันลม และงานสายส่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการ ซึ่งการติดตั้งตัวกังหันลมปัจจุบันเหลือติดตั้งอีกเพียง 7 ต้นจึงจะแล้วเสร็จ ซึ่งทั้ง 5 โครงการ มีแผนที่จะเริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ (Commercial Operation Date : COD) ให้แก่ กฟผ. ได้ภายในเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน ปี 2562
    2) บริษัทฯ โดยบริษัทย่อยทางตรง - บจ. อีเอ วินด์ หาดกังหัน 3 ได้รับการอนุมัติการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (ThailandVoluntary Emission Reduction Program : T-VER) กับองค์การบริการจัดการก๊าชเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรืออบก. สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ที่จังหวัดสงขลา และนครศรีธรรมราช ประเทศไทย (“Wind Farm at Songkla and Nakhon Si Thammarat, Thailand)โดยคณะอนุกรรมการฯ อบก. เห็นชอบรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการนี้ สำหรับเดือนมีนาคม 2560 ถึง เดือน กันยายน 2560 อยู่ที่จำนวน 63,907 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    3)บริษัทฯ ได้สมัครเข้าร่วมโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย กับ อบก. โดยผ่านกลุ่มบริษัท สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม หนุมาน 1, 5, 8, 9 และ 10 โดยคณะอนุกรรมการฯ อบก. ได้มีมติเห็นชอบให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังลมทั้ง 5 โครงการ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2561 และมีระยะเวลาการคิดเครดิตตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
    พัฒนาการที่สำคัญด้านธุรกิจบริการสถานีอัดประจุไฟฟ้า
    1) บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมในประเภท 7.27 กิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2544 เช่น ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักรตามที่คณะกรรมการพิจารณาอนุมัติและให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมรวมกันไม่เกินร้อยละ 100 ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนกำหนดระยะเวลา 5 ปีนับแต่วันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการนั้น เป็นต้น
    2) เปิดตัวธุรกิจสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้าโดยเทคโนโลยีเครื่องชาร์จซึ่งผ่านการรับรองมาตรฐานสากลด้านความปลอดภัยจาก IEC และได้แสดงจุดยืนในการขับเคลื่อนให้เกิดวิวัฒนาการครั้งสำคัญด้วยการขยายจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนการใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าภายในประเทศ
    3) เปิดตัว“Smart Move”แพลตฟอร์มบริการเช่ารถพลังงานไฟฟ้า 100% เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2561 ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างระบบนิเวศรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยผู้ใช้บริการสามารถค้นหาสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้จากแอปพลิเคชั่น EA Anywhere บนโทรศัพท์มือถือผ่านแพลตฟอร์ม Smart Move และได้ติดตั้งสถานีชาร์จในโครงการของแสนสิริด้วยอุปกรณ์ DC Super Charge ไว้รองรับการชาร์จ โดยใช้เวลาชาร์จเร็วที่สุดเพียง 7 นาที เป็นครั้งแรกและเครื่องแรกที่ติดตั้งในโครงการอสังหาริมทรัพย์
    4) วันที่ 4 - 5 กรกฎาคม 2561 เปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้ากับพันธมิตรตลอดเส้นทางไป-กลับ กรุงเทพฯ - หัวหิน กว่า380 กิโลเมตร จำนวน 8 จุด เป็นรายแรกในประเทศไทย
    5) บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด และ บริษัท อินช์เคป (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและตัวแทนจำหน่ายรถยนต์แลนด์โรเวอร์อย่างเป็นทางการแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทยได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2561 เพื่อให้ บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด เป็นผู้ให้บริการและอำนวยความสะดวกเกี่ยวกับสถานีอัดประจุไฟฟ้าและเครื่องอัดประจุไฟฟ้าแก่ลูกค้าที่ใช้รถยนต์ไฟฟ้าแลนด์โรเวอร์อย่างเป็นทางการ
    6) บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด และ บริษัท อาคเนย์แอดไวซ์เซอรี่ จำกัด ได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA)เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2561 เพื่อขยายจำนวนสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่ของ TCC Groupโดยได้ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าที่อาคารอาคเนย์สำนักงานใหญ่สีลม เป็นแห่งแรก”
    พัฒนาการด้านอื่น
    นายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯได้รับรางวัล “Entrepreneur of The Year Award” (Mining & Energy Industry) ในงาน Asia Pacific Entrepreneurship Awards 2018, Thailand รางวัลนี้จัดโดย Enterprise Asia
    1) ได้รับรางวัลจาก “International Finance Magazine” Singapore 3 รางวัล ดังนี้
    • Fastest Growing Renewable Energy Company, Thailand 2017
    • Most Social Responsible Energy Company, Thailand 2018
    • Most Innovative Renewable Energy Company, Thailand 2018
    2) ได้รับรางวัล “The BIZZ Awards 2018” ประเภท Inspirational Company จาก World Confederation of Businesses, USA.
    3) ได้รับรางวัล “Social Empowerment Award” ในงาน AREA Asia Responsible Enterprise Awards จาก Enterprise Asia
    4) ได้รับรางวัลจาก Global Banking and Finance, London ดังนี้
    • Best Energy Solutions Provider Thailand 2018
    • Best Green Project (Energy) Thailand 2018
    5) บริษัทฯ และนายสมโภชน์ อาหุนัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของบริษัทฯ ได้รับรางวัลจาก International Business Magazine, UAE ดังนี้
    • Best Renewable Energy Company Thailand 2018
    • Energy Company CEO of the Year Thailand 2018
    6) จากผลสำรวจการกำกับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียนไทยประจำปี 2561 (Corporate Governance Report of Thai ListedCompanies 2018) ซึ่งดำเนินการโดยสมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ร่วมกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทฯ ได้รับการประเมินคะแนนทางด้าน CG ระดับดีเลิศ (5 ดาว) เป็นปีแรก โดยระดับคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 2 ปีก่อน ที่ได้ระดับดีมาก (4 ดาว) มาสองปีต่อเนื่องกัน
    7) ได้รับรางวัล “Thailand Top Company Awards 2018” ประเภทอุตสาหกรรมพลังงาน จากการมีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยมในกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงาน และมีความโดดเด่นในการดำเนินงานด้านต่างๆ รางวัลนี้จัดโดยมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับนิตยสาร Business Plus
    8) ได้รับรางวัล “Thailand Corporate ExcellenceAwards 2018” ด้านการบริหารจัดการโดยรวม (Corporate Management Excellence) จัดโดย สมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    9) ได้รับรางวัล “Thailand’s Top Corporate Brand” จากโครงการ Thailand Corporate Excellence Awards 2018 จัดโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    10) ได้รับรางวัล “Thailand Sustainability Investment(THSI)” จากโครงการ SET Sustainability Awards 2018และได้รับคัดเลือกเป็นหุ้นยั่งยืน จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    11) ได้รับเกียรติบัตรการเป็นสถานประกอบการอุตสาหกรรมที่ดำเนินงานตามหลักเกณฑ์ธรรมาภิบาลสิ่งแวดล้อม ทั้งในส่วนของโรงงานไบโอดีเซล และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์จังหวัดพิษณุโลก จัดโดยกระทรวงอุตสาหกรรม
    12) ได้รับรางวัล “CSR-DIW” จากโครงการส่งเสริมให้โรงงานอุตสาหกรรมมีความรับผิดชอบต่อสังคมและอยู่ร่วมกันกับชุมชนอย่างยั่งยืน จัดโดยกรมโรงงาน กระทรวงอุตสาหกรรม
    13) โรงไฟฟ้าพลังงานลม ในส่วนของโครงการหนุมาน ที่จังหวัดชัยภูมิ รวมทั้ง 5 โครงการ ผ่านการประเมินและได้รับการขึ้นทะเบียนโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction : T-VER) จึงได้รับโล่ประกาศเกียรติคุณภายใต้โครงการ T-VER ในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน”ประจำปี 2561 จัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) อบก.
  12. 2562
    โรงผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม (โครงการหนุมาน) เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าในเชิงพาณิชย์ครบทุกโครงการแล้วดังนี้
    1)โครงการหนุมาน 1 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 25 มกราคม 2562
    2)โครงการหนุมาน 5 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 22 มีนาคม 2562
    3)โครงการหนุมาน 8 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 25 มกราคม 2562
    4)โครงการหนุมาน 9 ขนาดกำลังการผลิต 45 เมกะวัตต์ วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 30 มีนาคม 2562
    5)โครงการหนุมาน 10 ขนาดกำลังการผลิต 80 เมกะวัตต์ วันที่เริ่มจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ 13 เมษายน 2562
    • ศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิต สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่จังหวัด นครสวรรค์ โดยใช้หุ่นยนต์ช่วยในการทำความสะอาดแผงโซล่าร์และเพื่อเป็นการกำจัดฝุ่นคราบสกปรกบนผิวแผ่นโซล่าร์ ซึ่งจากการทดลองในปี 2562 สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มเป็นจากเดิม 2.5% โดยมีแผนการติดตั้งหุ่นยนต์ล้างแผงภายในปี 2563
    • พัฒนาปรับปรุง Backtrack Function สำหรับพื้นที่ลาดชันในการลดการบดบังเงาสำหรับพื้นที่ลาดเอียง ซึ่งระบบติดตามดวงอาทิตย์ (Tracking System) จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพฟังก์ชั่นการทำงานของระบบปรับแผงในพื้นที่ลาดเอียงให้สามารถหมุนตามดวงอาทิตย์ โดยผลการทดสอบคาดว่าจะส่งผลให้การผลิตไฟเพิ่มขึ้นจากเดิมเฉลี่ยทั้งปี 0.77 %
    • ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบจก.พลังงานมหานคร กับบจก.SAIC Motor-CP และ บจก.เอ็มจี เซลส์(ประเทศไทย) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2562 เพื่อพัฒนาสถานีอัดประจุไฟฟ้ารองรับการใช้งานกับรถยนต์ MG ผ่านเทคโนโลยีi-Smart function
    การเข้าลงทุนในกิจการร่วมค้ากับ Shenzhen Atess Power Technology Co., Ltd. (ชื่อเดิมคือ Shenzhen GrowattPower Technology Co., Ltd.) มีสัดส่วนลดลงจากร้อยละ44.00 เป็นร้อยละ 36.67 เนื่องจาก Shenzhen Atess PowerTechnology Co., Ltd. ได้เพิ่มส่วนได้เสียในการร่วมค้าให้แก่ผู้ลงทุนอื่น
    ข้าลงทุนในหุ้นสามัญของ Amita-Taiwan เพิ่มเติมด้วยการเข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุน โดยผลจากการซื้อหุ้นดังกล่าว ส่งผลให้บริษัทฯ ถือหุ้นใน Amita-Taiwan จำนวน 96,609,821 หุ้นคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 65.61 ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด
    จัดตั้งบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ดังต่อไปนี้- จัดตั้ง EA BVI Holding Limited (“BVI Holding”) ที่British Virgin Island ด้วยทุนจดทะเบียน 200,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 6.31 ล้านบาท ซึ่งบริษัทฯถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจและลงทุนในประเทศไต้หวัน จากนั้นเพิ่มทุนเป็น 500,000เหรียญดอลลาร์สหรัฐ จัดตั้ง EA (BVI 1) Limited (“BVI 1”) ที่ British VirginIslands ด้วยทุนจดทะเบียน 30,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 949,248 บาท โดย BVI Holding ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 วัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในประเทศไต้หวัน- จัดตั้ง EA (BVI 2) Limited (“ BVI 2”) ที่ British VirginIslands ด้วยทุนจดทะเบียน 30,000 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐหรือประมาณ 949,248 บาท โดย BVI Holding ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 100 วัตถุประสงค์เพื่อการลงทุนในประเทศไต้หวัน- จัดตั้งบจก. อี สมาร์ท ทรานสปอร์ต (“EST”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 1 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจเรือโดยสาร และเรือท่องเที่ยว- จัดตั้งบจก. สมาร์ท เวสท์ เมเนจเมนท์ (“SWM”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 1 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 99.99 วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจกำจัดขยะทุกประเภท- จัดตั้งบจก. อีวีนาว (“EV Now”) ด้วยทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้ว 1 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 10 บาทโดยบริษัทฯ ถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 74.99 วัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจ ผลิตและจำหน่ายรถบัสไฟฟ้า และยานพาหนะอื่นทุกประเภท รวมถึงธุรกิจบริการขนส่งสาธารณะ
    บริษัทย่อย - EA BVI Holding Limited (BVI Holding)ได้เข้าลงทุนใน Zept Inc. (“Zept”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)ที่ดำเนินธุรกิจพัฒนา ออกแบบ และประกอบ EV powertrainsystems โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 10 ล้านดอลล่าร์ไต้หวัน โดย ณ ปัจจุบันถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 45.28
    เพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม)ดังต่อไปนี้- เพิ่มทุนจดทะเบียนของ MMC จากเดิม 400 ล้านบาท เป็น550 ล้านบาท- เพิ่มทุนจดทะเบียนของ MMR จากเดิม 100 ล้านบาท เป็น300 ล้านบาท- เพิ่มทุนจดทะเบียนของ Amita-SG จากเดิม 1.6 ล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เป็น 43,507,834 เหรียญดอลล่าร์สหรัฐ- เพิ่มทุนจดทะเบียนของ Amita-TH จากเดิม 50 ล้านบาทเป็น 2,400 ล้านบาท- เพิ่มทุนจดทะเบียนของ SWM จากเดิม 1 ล้านบาท เป็น10 ล้านบาท- เพิ่มทุนจดทะเบียนของ EV Now จากเดิม 1 ล้านบาท เป็น50 ล้านบาท
    AMITA Taiwan เข้าลงทุนใน Wan Meng Automatic PrecisionCo., Ltd. (“Wan Meng”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายของสาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ที่ดำเนินธุรกิจ Automaticcontrol equipment engineering โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ Amita Taiwan ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 100 ล้านดอลล่าร์ไต้หวัน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 36.04 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ Wan Weng
    AMITA Taiwan เข้าลงทุนใน Sun Field Invesments Co., Ltd.(“Sun Field”) ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนภายใต้กฎหมายของรัฐเอกราชซามัว ที่ดำเนินธุรกิจเป็นบริษัทลงทุน และบริษัทโฮลดิ้ง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ AMITA Taiwan ด้วยมูลค่าการลงทุนรวม 10 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 100 ของหุ้นที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของ Sun Field
    ปรับปรุงกระบวนการผลิตไบโอดีเซลให้มีคุณลักษณะใหม่ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน “เรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันพ.ศ. 2562” ซึ่งประกาศนี้ใช้บังคับนับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562
    ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ภายในงาน motor Show2019 ระหว่าง MMC กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนสุวรรณภูมิพัฒนาจำกัด ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้บริการรถยนต์รับจ้าง (รถแท็กซี่) เพื่อตกลงจองสิทธิซื้อรถยนต์ไฟฟ้าและอะไหล่ จำนวน 3,500 คัน โดยจะนำไปจดทะเบียนเป็นรถยนต์รับจ้าง เพื่อจำหน่ายให้กับสมาชิกของสหกรณ์ พร้อมกับตกลงการใช้บริการชาร์จไฟฟ้าจากสถานีอัดประจุไฟฟ้าของกลุ่มบริษัท เพื่ออำนวยความสะดวก
  13. 2563
    การเปลี่ยนแปลง และพัฒนาการที่สำคัญในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา
    พัฒนาการที่สำคัญของบริษัทฯ และบริษัทย่อย โดยแบ่งตามลักษณะการประกอบธุรกิจ ดังนี้
    ในปี 2563
    กลุ่มธุรกิจไบโอดีเซล
    • ปรับปรุงกระบวนการผลิต B100 ตามคุณลักษณะใหม่ที่ระบุในประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน “เรื่องกำหนดลักษณะและคุณภาพของไบโอดีเซล ประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมัน พ.ศ. 2562” เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตจากเดิม 650,000 ลิตรต่อวัน เป็น 800,000 ลิตรต่อวัน อีกทั้งการลงทุนติดตั้งกระบวนการผลิต B100 จากผลิตภัณฑ์พลอยได้ (กรดไขมันปาล์ม) เพื่อลดต้นทุนในการผลิตอันเป็นการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ
    • บริษัทฯ ดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ภายใต้ธุรกิจไบโอดีเซล เพื่อเป็นการต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่ใช้น้ำมันปาล์มดิบที่เป็นสารตั้งต้น ซึ่งได้รับการจดสิทธิบัตร (Patent) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยบริษัทย่อย (บจก. อีเอ ไบโอ อินโนเวชั่น) เป็นผู้ดำเนินการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ประกอบด้วย
    1.) ผลิตภัณฑ์กรีนดีเซล (Green Diesel หรือ GD) หรือ Bio Hydrogenated Diesel (BHD) เพื่อนำมาใช้เป็นส่วนผสมของน้ำมันดีเซล ในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและความสะอาดของเครื่องยนต์ และ
    2.) สารเปลี่ยนสถานะ หรือ PCM (Phase Change Material) เพื่อนำมาใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ เช่น เป็นส่วนประกอบของวัสดุก่อสร้างอาคาร หรือเส้นใยผ้า และอื่นๆ เพื่อช่วยในการดูดซับ กักเก็บ ควบคุม และปล่อยความร้อนเพื่อรักษาอุณหภูมิ โดยสาร PCM นี้เป็นที่นิยมและมีความต้องการสูงในประเทศที่มีสภาพอากาศแปรปรวน โดยโรงงานผลิตกรีนดีเซล และสารเปลี่ยนสถานะ (PCM) ดังกล่าว ตั้งอยู่ที่จังหวัดระยอง ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการติดตั้งและทดสอบเครื่องจักรแล้วเสร็จ และได้เริ่มกระบวนการผลิตระยะที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์ PCM และจะทยอยเพิ่มกำลังการผลิตให้เต็มกำลังการผลิต ที่ 65 ตันต่อวัน ส่วนระยะถัดไปจะเริ่มการผลิตระยะที่ 2 ซึ่งจะมีกำลังการผลิตอีกจำนวน 65 ตันต่อวัน โดยระหว่างนี้ทางบริษัทฯ ยังคงทำการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายโอกาสทางการตลาดในการนำสาร PCM ไปใช้ในรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นการต่อยอดในการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อไป
    กลุ่มธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
    • โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ (โครงการ 1,2,3) ยังคงได้รับความเห็นชอบในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นปีที่ 4 ติดต่อกัน จาก อบก. โดยปริมาณที่ได้รับการรับรองสำหรับเดือนมกราคม 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 344,922 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า(tCO2e) ดังนี้
    ชื่อโครงการ ปริมาณการรับรอง *
    โครงการ 1 101,947
    อำเภอตาคลี / จังหวัดนครสวรรค์
    โครงการ 2 115,285
    อำเภอเมืองลำปาง / จังหวัดลำปาง
    **** หมายเหตุ : *หน่วย (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) (tCO2e)

    • โรงไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหาดกังหัน 1-3) ยังคงได้รับความเห็นชอบในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน โดยปริมาณที่ได้รับการรับรองสำหรับเดือน ม.ค. 62 ถึง เดือน ธ.ค. 62 จำนวน 164,873 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e)
    • โรงไฟฟ้าพลังงานลม (โครงการหนุมาน 1,5,8,9,10) ได้รับความเห็นชอบในการรับรองปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้เป็นปีแรก จาก อบก. โดยปริมาณที่ได้รับการรับรองสำหรับเดือนกุมภาพันธ์ 2562 ถึงเดือนธันวาคม 2562 รวมจำนวนทั้งสิ้น 263,871 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ดังนี้
    ชื่อโครงการ ปริมาณการรับรอง *
    โครงการหนุมาน 1 46,829
    อำเภอเทพสถิต / จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 5 52,635
    อำเภอเทพสถิต / จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 8 47,756
    อำเภอเทพสถิต / จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 9 41,213
    อำเภอเทพสถิต, อำเภอหนองบัวระเหว/จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 10 75,438
    อำเภอบำเหน็จณรงค์ / จังหวัดชัยภูมิ
    **** หมายเหตุ : *หน่วย (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) (tCO2e))

    โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และโรงไฟฟ้าพลังงานลม ยังคงขอการรับรองปริมารณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการ โดยได้ยื่นขอรับการรับรองจาก อบก. สำหรับเดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2563 รวมจำนวนทั้งสิ้น 756,998 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (tCO2e) ดังนี้
    ชื่อโครงการ ปริมาณการรับรอง *
    โครงการ 1 99,629
    อำเภอตาคลี/ จังหวัดนครสวรรค์
    โครงการ 2 116,525
    อำเภอเมืองลำปาง/ จังหวัดลำปาง
    โครงการ 3 124,960
    อำเภอพรหมพิราม/ จังหวัดพิษณุโลก
    ชื่อโครงการ ปริมาณการรับรอง *
    โครงการหาดกังหัน 1-3 143,270
    อำเภอระโนด/จังหวัดสงขลาอำเภอหัวไทร, อำเภอปากพนัง/จังหวัดนครศรีธรรมราช
    โครงการหนุมาน 1 43,164
    อำเภอเทพสถิต / จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 5 60,089
    อำเภอเทพสถิต / จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 8 43,457
    อำเภอเทพสถิต / จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 9 43,260
    อำเภอเทพสถิต, อำเภอหนองบัวระเหว/จังหวัดชัยภูมิ
    โครงการหนุมาน 10 82,644
    อำเภอบำเหน็จณรงค์ / จังหวัดชัยภูมิ
    **** หมายเหตุ : *หน่วย (ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) (tCO2e))

    • การเข้าลงทุนของบริษัทในเครือ
    - ERH เข้าลงทุนใน บจก. ซับใหญ่ วินด์ฟาร์ม(1) (“SWF”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ทางด้านการผลิต และจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม
    - ERH เข้าลงทุนในบจก. ทีเอฟ เทค โฮลดิ้ง (“TFTH”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันในการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำ (Floating Solar)
    กลุ่มธุรกิจอื่นๆ
    • จัดตั้งบริษัทย่อย (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) ดังต่อไปนี้
    - จัดตั้ง บจก. อีเอ ปาล์ม เน็ตเวิร์ค (“EPN”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจผลิต และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ
    - จัดตั้ง บจก. อีเอ เวสท์ แมเนจเม้นท์ (“EWM”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ และธุรกิจการผลิต และจำหน่ายไฟฟ้าจากขยะ- ชีวมวล พลังงานทดแทนอื่น
    - จัดตั้ง บจก. แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี (“AAB”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินธุรกิจ ผลิต ประกอบยานยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท
    • การเข้าลงทุนของบริษัทในเครือท
    - EPN เข้าลงทุนใน บจก. ลาภภักดีปาล์ม (“LPD”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ทางด้านผลิต และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ ด้วยมูลค่าการลงทุนภายหลังจากที่มีการเพิ่มทุนแล้วรวม ทั้งสิ้น 150 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ LPD
    - EPN เข้าลงทุนใน บจก. คอมไบน์ เอ็นเนอร์ยี่ เทค (“CET”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ในธุรกิจ Shore Tank รวมถึงแผนการก่อสร้างโรงผลิต Green Diesel & PCM ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 285.51 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 70 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CET
    - EPN เข้าลงทุนใน บจก. กาญจนดิษฐ์น้ำมันปาล์ม (“KJD”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยาย และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของกลุ่มบริษัทฯ ทางด้านผลิต และจำหน่ายน้ำมันปาล์มดิบ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 37.53 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 75 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ KJD
    - EMH เข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนใน บมจ. เน็กซ์ พอยท์ (“NEX”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนาธุรกิจเกี่ยวกับการผลิต ประกอบชิ้นส่วนและจัดจำหน่าย ตลอดจนการขายและให้บริการหลังการขายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์รถยนต์โดยสาร รถยนต์เชิงพาณิชย์ และรถยนต์ส่วนบุคคล โดยบริษัทในเครือจะเป็นผู้ผลิตและพัฒนาแบตเตอรี่ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องสำหรับใช้ในรถบัสไฟฟ้า และยานยนต์ไฟฟ้าต่างๆ ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,474 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.01 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ NEX
    - EST เข้าลงทุนใน บจก. เจ้าพระยา ริเวอร์ ไลน์ (“CRL”) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายเครือข่ายการดำเนินธุรกิจทางด้านเรือโดยสาร การท่องเที่ยวในแม่น้ำเจ้าพระยา ด้วยมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 55.70 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 99.99 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของ CRL
    • เข้าซื้อเงินลงทุนเพิ่มเติมในกิจการร่วมค้า (Shenzhen Atess Power Technology Co., Ltd.) จากผู้ร่วมลงทุนรายอื่นส่งผลให้สัดส่วนเงินลงทุนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 36.67 เป็นร้อยละ 38.58
    • เปิดตัวสถานีอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าแห่งแรก ที่ขนาดกำลังไฟฟ้าไม่ต่ำกว่า 4,000 กิโลวัตต์ โดยเป็นการติดตั้งเครื่องชาร์จ DC Fast Charger ขนาด 300 กิโลวัตต์ จำนวนทั้งสิ้น 14 เครื่อง ที่สามารถอัดประจุไฟฟ้าได้ภายในเวลาไม่เกิน 15-20 นาที ตามคุณสมบัติของยานยนต์ไฟฟ้าและขนาดของแบตเตอรี่ ทั้งนี้เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานได้ทั้งเรือโดยสารพลังงานไฟฟ้าของกลุ่มบริษัท และเรือไฟฟ้าของหน่วยงานอื่นๆ โดยสถานี อัดประจุไฟฟ้าสำหรับเรือไฟฟ้าแห่งแรกนี้ ตั้งอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งถนนปู่เจ้าสมิงพราย สะพานภูมิพล 2 อำเภอ พระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ อย่างไรก็ตามสำหรับแผนในการก่อสร้างสถานีอัดประจุไฟฟ้าในพื้นที่อื่นๆ ยังคงดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับการใช้งานเรือโดยสารไฟฟ้าตลอดลำน้ำเจ้าพระยา
    • เปิดให้บริการเครื่องชาร์จประเภท DC Fast Charger ขนาด 150 kW เต็มรูปแบบสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยติดตั้งไว้ในพื้นที่ Outdoor อาทิเช่น สถานีบริการน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven และสถานประกอบการอื่นที่เปิดให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง สามารถรองรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้อย่างเต็มศักยภาพ
    • เข้าร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) โดยบจก. อมิตา เทคโนโลยี (ประเทศไทย) (“Amita-TH”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ที่ดำเนินโครงการโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ในประเทศไทย ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมกันศึกษาวิจัยโครงการที่จะนำไปสู่การรีไซเคิลแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน ซึ่ง Amita-TH จะนำผลการศึกษาจากโครงการ ไปประยุกต์ใช้ภายในระยะเวลา 3 ปี นับเป็นการต่อยอดการลงทุนในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ของกลุ่มบริษัท อย่างครบวงจร ตั้งแต่การเป็นผู้ผลิตเซลล์แบตเตอรี่ เพื่อนำไปใช้ในกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและอุตสาหกรรมไฟฟ้า ตลอดจนสามารถนำแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่สิ้นอายุการใช้งานแล้วกลับมารีไซเคิลได้ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่เป็นฐานการลงทุนอุตสาหกรรมกักเก็บพลังงานในแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนและยานยนต์ไฟฟ้าแบบครบวงจรอย่างเข้มแข็งและสามารถแข่งขันกับนานาประเทศได้
    • เข้าร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่างบริษัทฯ กับกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ในโครงการความร่วมมือวิจัยพัฒนาวัตถุดิบและชิ้นส่วน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการทำงานของอุปกรณ์กักเก็บพลังงานไฟฟ้าความจุสูง หรือแบตเตอรี่ ที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงในระยะเวลา 5 ปี (2563 - 2568) รวมถึงวงจรจัดการระบบการทำงานของแบตเตอรี่ เพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพสูง โดยให้ความสำคัญกับการพึ่งพาทรัพยากรและการผลิตภายในประเทศ เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงสนับสนุนและสร้างความเข้มแข็งให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศอย่างยั่งยืน
    • ความคืบหน้าในการดำเนินการติดตั้งเครื่องอัดประจุไฟฟ้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีการติดตั้งแล้วเสร็จจำนวน 410 สถานี โดยแบ่งเป็นประเภท DC Charger จำนวน 266 เครื่อง และ AC Charger จำนวน 592 เครื่อง เพื่อรองรับการใช้งานของยานยนต์ทุกรูปแบบ และรถยนต์ไฟฟ้าทุกรุ่น รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยที่ออกแบบและผลิตโดยกลุ่มบริษัท ทั้งรถยนต์ไฟฟ้า รถบัสโดยสารไฟฟ้า รวมไปถึงเรือโดยสารไฟฟ้า ให้สามารถชาร์จด้วย Quick Charge ที่มีความเร็วสูงสุด (4C-Rate) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 15-20 นาที โดยผู้ใช้บริการสามารถสั่งจองและจ่ายไฟเข้าเครื่องยนต์ ผ่าน Application EA Anywhere ทั้งนี้ บริษัทฯ ยังคงดำเนินแผนการลงทุนติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าร่วมกับพันธมิตรรายใหญ่ และเปิดรับพันธมิตรรายอื่นๆ ตามแผนธุรกิจของบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง
    • กลุ่มบริษัท ได้เปิดตัวเรือไฟฟ้า ภายใต้ชื่อ “MINE SMART FERRY” ซึ่งเป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทยโดยเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2563 ได้มีพิธีเปิดโครงการทดลองเดินเรือโดยสารไฟฟ้าในแม่น้ำเจ้าพระยา และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบได้ในปี 2564 นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลเกียรติคุณ ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมแห่งชาติปี 2563 ด้านเศรษฐกิจ จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และได้รับการจดทะเบียนจากกรมเจ้าท่าให้เป็นเรือโดยสารไฟฟ้า ลำแรกของประเทศเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2563 เพื่อให้บริการการเดินทางในแม่น้ำเจ้าพระยา จากท่าน้ำสะพานพระนั่งเกล้า จนถึง ท่าน้ำวัดราชสิงขร สาธร รวมระยะทางประมาณกว่า 20 กิโลเมตร โดยถือเป็นการเชื่อมโยงการเดินทางขนส่งทางน้ำกับระบบขนส่งสาธารณะทางบกได้เป็นอย่างดี ด้วยอัตราค่าโดยสารที่น้อย เพื่อไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้โดยสาร และเป็นส่วนหนึ่งของการร่วมส่งเสริมให้ประชาชนมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการเดินทางทางน้ำอย่างสะดวกและปลอดภัย ด้วยยานพาหนะไฟฟ้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไร้มลพิษทางอากาศและ PM 2.5
    • สำหรับโรงงานประกอบรถบัสโดยสารไฟฟ้าของ AAB ตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ใกล้เคียงกับโรงประกอบรถยนต์ไฟฟ้า และอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีกำลังการผลิต 3,000 คันต่อปี สามารถรองรับการผลิตรถได้หลายประเภท เช่น รถบัส รถบรรทุก โดยมูลค่าโครงการก่อสร้างประมาณ 1,750 ล้านบาท ประกอบด้วยค่าก่อสร้างโรงงาน และ ค่าอุปกรณ์และเครื่องจักรโดยจะนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศ มาประกอบร่วมกับชิ้นส่วนสำคัญที่ออกแบบและผลิตในประเทศ ด้วยกระบวนการผลิตแบบใช้เครื่องจักรในการควบคุมการผลิตทุกขั้นตอน (Automated manufacturing process) พร้อมทั้งมีกระบวนการทดสอบมาตรฐานการขับเคลื่อน คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการ เชิงพาณิชย์ได้ในช่วงต้นปี 2564

  14. 2565

    บริษัทฯ ได้ดำเนินการจดทะเบียนเพิ่มทุน จดทะเบียนของบริษัทฯ จำนวน 29,000,000 บาท โดยการออกหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 290,000,000 หุ้น
    มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ0.10 บาท จากเดิมทุนจดทะเบียน 373,000,000 บาท เป็น 402,000,000 บาท
นวัตกรรมสังคมองค์กร (CSI)

CSI (Corporate Social Innovation) เป็นแนวคิดในการพัฒนาสังคมขององค์กร ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในต่างประเทศ ซึ่งบริษัทฯ นำมาใช้เป็นหลักในการขับเคลื่อนการเติบโตในรอบใหม่ ด้วยหลักการแบ่งปันองค์ความรู้ ปัจจัยความสำเร็จ ปรัชญาความคิด และร่วมลงมือปฏิบัติที่ภาคธุรกิจมีให้แก่ชุมชน เพื่อวางรากฐานการพัฒนาชุมชน